งาน Thailand LAB INTERNATIONAL  และ Bio Asia Pacific สุดยอดงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ชีววิทยาศาสตร์ และเคมี พร้อมแสดงศักยภาพอีกครั้งด้วยการนำผู้ประกอบการชั้นนำในอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 ราย มากกว่า 500 แบรนด์ชั้นนำมาจัดแสดงภายในงาน คาดดึงดูดผู้ซื้อและผู้เข้าชมงานกว่า 10,000 รายตลอด 3 วันของการจัดงาน พร้อมขนเทคโนโลยี ผลงานวิจัยใหม่ และนวัตกรรมต่างๆ เผยแพร่สู่ตลาด พร้อมจัดแสดงอย่างยิ่งใหญ่บนพื้นที่จัดงานกว่า 12,000 ตารางเมตร ตอบรับความต้องการทั้งผู้ซื้อและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอย่างครบครันที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

กรุงเทพฯ (สิงหาคม 2565) – วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ร่วมกับ สมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ผู้จัดงาน Thailand LAB INTERNATIONAL งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องมือสำหรับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และงาน Bio Asia Pacific งานแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านชีววิทยาศาสตร์ ตลอดจนการแพทย์สมัยใหม่ ยืนยันความพร้อมกลับมาจัดงานในรูปแบบปกติที่ซึ่งผู้คนในอุตสาหกรรมสามารถมาพบปะพูดคุยกับผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญ ชมการสาธิตเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานเดียวที่ครอบคลุมทุกความต้องการของทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือห้องปฏิบัติการฯ ความปลอดภัยสำหรับบุคลากรในห้องแล็บ นวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ นวัตกรรมใหม่ๆทางเคมีเพื่ออุตสาหกรรม การวิคราะห์และตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน เครื่องสำอาง ปิโตรเคมี และทุกภาคส่วนที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ และทั่วถึงทุกภูมิภาค โดยงาน Thailand LAB INTERNATIONAL  และ Bio Asia Pacific พร้อมด้วยงานน้องใหม่เพื่ออุตสาหกรรมเคมีในอนาคต อย่าง FutureCHEM INTERNATIONAL ซึ่งมีกำหนดการจัดงานพร้อมกันระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ ฮอล 102- 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ

Thailand LAB INTERNATIONAL-2

สัดส่วนของผู้จัดแสดงภายในงาน

ด้วยความเชี่ยวชาญในการเชื่อมโยงทุกธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องมือห้องปฏิบัติการฯ ทางผู้จัดจัดสรรพื้นที่เพื่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เข้าร่วมงานไว้อย่างชัดเจน ในปีนี้มีสัดส่วนผู้ประกอบการ แบ่งได้เป็น 60% นำเสนอเทคโนโลยีและเครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ การบริการด้านการวิเคราะห์วิจัย การประเมินคุณภาพและความแม่นยำ การบริการต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการขั้นสูง ความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องมือ และซอฟแวร์ต่างๆ30% นำเสนอนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ และอีก 10% ท้ายสุดจะมีการนำเสนอเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมี หน่วยงานให้คำปรึกษา สมาคมที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนในอุตสาหกรรม จากรายงานความพึงพอใจของผู้ประกอบการ พบว่า มากกว่า 96% มีความพึงพอใจต่อการจัดงานและบรรลุวัตถุประสงค์ในเจรจาการค้าและธุรกิจกับผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่ทางผู้จัดงานได้ให้ความสำคัญเสมอมา

Thailand LAB INTERNATIONAL-3

คัดสรรผู้ซื้อจากทั่วเอเชียสู่ประเทศไทย

“การเชิญกลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจให้เข้าร่วมงานนั้นนับเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ทางคณะผู้จัดให้ความสนใจและทำการค้นหากลุ่มผู้ซื้อใหม่จากนานาประเทศทั่วเอเชียเพื่อเชิญมาเข้าร่วมงานของเรา โดยในปีนี้ได้รับการติดต่อมาจากหลากหลายประเทศที่สนใจเข้าเยี่ยมชมงานแบบหมู่คณะ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม จากประเทศเวียดนาม กลุ่ม จากประเทศกัมพูชา และกลุ่มจากประเทศอินเดีย และฟิลลิปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสมาคมนักเทคนิคการแพทย์จากประเทศฟิลิปปินส์ให้ความสนใจเข้าร่วมงาน มาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งหมดแล้วมากกว่า 100 รายที่ ซึ่งยังมีอีกหลายประเทศทั่วเอเชียที่ทางทีมงานของเราติดต่อไปเพื่อนำพากลุ่มผู้ซื้อที่มีอำนาจในการตัดสินใจสำหรับธุรกิจด้านเครื่องมือห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านยาและเวชภัณฑ์ เทคโนโลยีชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ และจเคมี จากหลายหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราเชื่อมั่นว่าผู้ซื้อรายสำคัญเหล่านี้จะสามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับบรรดาผู้ประกอบการของเราและถือเป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้เป็นอย่างดีในไตรมาสนี้” คุณ อนุชา พันธุ์พิเชฐ/ ผู้จัดการโครงการอาวุโส/ วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด กล่าว

Thailand LAB INTERNATIONAL-4

งานประชุมสัมมนาที่น่าสนใจจากสมาคมในอุตสาหกรรมฯ

งาน Thailand LAB INTERNATIONAL  และ Bio Asia Pacific เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งอีกหนึ่งไฮไลต์ที่สำคัญคือ งานประชุมสัมมนาในหัวข้อที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม เกาะติดประเด็นร้อน โดยมีการอภิปรายที่น่าสนใจ การนำเสนองานวิจัยใหม่ ตลอดจนการแข่งขันของสตาร์ทอัพใหม่ รวมถึงนิสิตนักศึกษาในอุตสาหกรรมนี้ โดยรวมมากกว่า 50 งานประชุมสัมมนา โดยบางสัมมนายังได้นำเทคโนโลยี Live Streaming เข้ามาใช้ด้วย โดยห้องประชุมทั้งเต็มวันและครึ่งวันถูกจับจองจากหลายหน่วยงานชั้นนำ ทั้งสมาคม องค์กรต่างๆ บริษัทเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐบาล ที่พร้อมนำเสนอข่าวสารความรู้ใหม่จากห้องวิจัยสู่ภาคธุรกิจ เพื่อนำมาสู่การลงทุนต่อไป หัวข้องานสัมนนาที่น่าสนใจ ดังนี้ 

ความท้าทายของงานเทคนิคการแพทย์ในยุคหลังโควิด-19 โดย สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย AMTT

  • พลิกโฉม Biotech ไทย สร้างความเป็นไปได้ใหม่บนเวทีโลก โดย Biotech Industry Club
  • การทดสอบผลิตภัณฑ์สนับสนุนการป้องกันโควิด 19 และ ระบบการสอบเทียบ pH Meter ตามมาตรฐานสากล โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR)
  • พลิกโฉม Biotech ไทย สร้างความเป็นไปได้ใหม่บนเวทีโลก โดย Biotech Industry Club
  • การประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยในอาหารเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการค้าในตลาดโลก โดย สมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย (MST)
  • ASEAN Food Safety Forum: Safe Food to Green Food โดย ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร ม.เกษตรศาสตร์ KU-FIRST
  • INNOLAB forum: Review of ISO/IEC 17025:2017 โดย นิตยสาร INNOLAB
  • ยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการตาม ESPReL checklist ในรูปแบบ Peer Evaluation โดย กรมวิยาศาสตร์บริการ (DSS)
  • Lesson Learned from COVID-19: Innovations for the Next Pandemic โดย TCELS และ Pfizer
  • Synthetic Biology: Biotechnology for Future of Thai Bio Industry โดย TCELS, ThaiBio และ Twist Bioscience
  • Pharmacogenomics & Precision Medicine: Challenges Outlooks in an Era of Big Data โดย TCELS และ SEAPharm
  • Navigating the Road from Policy to Commercialization for ATMPs โดย TCELS และ Novartis
  • Shining the Light: Learning Journey in Metadata toward Personalised Healthcare โดย TCELS และ Roche
  • การประชุมพิษวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 12 (NCT12): Theme “Toxicology and Safety of Natural and Innovative Products” โดย สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย (TST)
  • The World Changed in Petrochemical Industry : A Way Forward โดย บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC)
  • The standard in cosmetic laboratory โดย สมาคมการค้าคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย (TCOS)
  • Global Trend of Future Food and the and Potential of Thai Food Industry in the World Market โดย วีเอ็นยูฯ
  • Phyto Cosmetics – the Future Trends for Wellness and Beauty โดย สมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย (SCCT)
  • Company Presentations (Hybrid) และ Startup Pitch & Partner (Hybrid) ณ LAB & BIO Square
  • Cannabiz Asia “Your gateway to Canna-business and Medical hemp in SEA” โดย วีเอ็นยูฯ

ซึ่งยังมีอีกหลากหลายหัวข้อสัมมนาจากหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังทยอยปรับและส่งหัวข้อการประชุม ที่น่าสนใจมานำเสนอให้ผู้เข้าชมงานทุกท่านได้เลือกรับฟัง และเข้าร่วมงานอีกมากมาย

Thailand LAB INTERNATIONAL-5

คุณสุวรรณ พงษ์สังข์ อดีตนายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนว่า “งาน Thailand LAB INTERNATIONAL เป็นศูนย์รวมของการนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นสื่อกลางสำหรับผู้ที่สนใจในการค้นหาคำตอบทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่งาน Thailand LAB ยังคงเป็น Major Event, Conference และ Exhibition ของประเทศไทย ที่ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมไม่ควรพลาด”

“จากการพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการของเรา พบว่าในปีนี้หลายบริษัทจะมีการนำผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ มาเปิดตัวภายในงาน ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าการจัดงานในปีนี้จะทวีความน่าสนใจ และ ช่วยกระตุ้นการซื้อขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ชีววิทยาศาตร์ และอุตสาหกรรมยา ให้กลับมาคึกคักมากขึ้น ตลอดจนช่วยส่งเสริมสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมในช่วงปลายปีนี้ด้วย!” คุณคุณ อนุชา พันธุ์พิเชฐ/ ผู้จัดการโครงการอาวุโส/ วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด กล่าวเสริม

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน Thailand LAB INTERNATIONAL งาน Bio Asia Pacific และงาน FutureCHEM INTERNATIONAL ซึ่งมีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ ฮอล 102- 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.thailandlab.com  หรือ www.bioasiapacific.com  หรือสอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-1116611 **พิเศษสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้า ลุ้นรับรางวัลพิเศษมากมาย ติดตามข่าวสารการจัดงานได้ทุกช่องทาง Social media ของ Thailand LAB

ดาวน์โหลดข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่นี่

สื่อมวลชน ติดต่อ

ฝ่ายสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค

Zetaboto Widget